น.ส. แจ่มใส อุทธิยา

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบงานทัศนศิลป์ตะวันออก

ได้แก่ ลักษณะของศิลปะที่แสดงคุณลักษณะเฉพาะอย่างของรูปแบบ ศิลปะจะแสดงออกทางอิทธิพลทางภูมิอากาศ ขนบประเพณี รูปแบบของศิลปะตะวันออกจะเด่นชัดทางอิทธิพลทางศาสนา เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนประยุกต์ศิลป์ งานประณีตศิลป์และงานหัตถกรรม ซึ่งมีส่วนในการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของชาวตะวันออกตามพื้นเพเดิมของการดำรงชีวิต ชาวตะวันออก คือ มนุษย์ที่อยู่อาศัยในประเทศแถบตะวันออก ตั้งแต่ตะวันออกกลางจนถึงตะวันออกไกล โดยมีรูปร่างทางร่างกายและวัฒนธรรมเป็นอีกลักษณะหนึ่งที่แตกต่างกันออกไปด้วย การนับถือศาสนาก็มีอิสระต่อกัน ประกอบด้วย ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ลัทธิเต๋า และศาสนาคริสต์ เป็นต้น สภาพความเป็นอยู่จะเป็นไปตามลักษณะของภูมิประเทศและภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ลักษณะบ้านเรือน เครื่องแต่งกายและสิ่งของเครื่องใช้เป็นไปตามสิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์ศิลปะจึงเป็นไปอีกแบบหนึ่ง ศิลปะในประเทศตะวันตกนั้น มีโอกาสที่จะเป็นลักษณะเดียวกันในบางยุคบางสมัย เพราะมีความนิยมร่วมกัน แต่ในประเทศตะวันออกนั้น ล้วนมีเอกลักษณ์ประจำชาติของตนเองมาแต่ยุคโบราณ และต่างก็สืบต่อลักษณะทางศิลปะกันลงมาไม่ขาดสายจึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าชาวตะวันออกซึ่งประกอบด้วยเชื้อชาติต่าง ๆ นั้น มีความเคารพนับถือในขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองยิ่งกว่าชีวิต ทำให้ศิลปะของชาวตะวันออกมีลักษณะรูปแบบตนเอง “ ศิลปะประจำชาติ ” เด่นชัด และไม่ถือเอาความเป็นจริงตามธรรมชาติเป็นสำคัญ จึงสร้างสรรค์ศิลปะให้บังเกิดความงามที่เหนือขึ้นไปจากธรรมชาติตามรสนิยมและความรู้สึกของตน


๑. รูปแบบงานทัศนศิลป์
  
    ทัศนศิลป์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการความคิดสร้างสรรค์มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นต่อเนื่อง
                ทัศนศิลป์คือการรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเครื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมุติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
                ทัศนศิลป์เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศน์.. ศิลป์ นั้น


๒.รูปแบบงานทัศนศิลป์ตะวันออก
โดยทั่วไปแล้วมักจะลงความเห็นกันว่า ศิลปะตะวันออกเป็นศิลปะอุดมคติ อันเป็นศิลปะที่มิได้ยึดถือเอาความจริงตามธรรมชาติเป็นหลักจนเกินไป หรือทำเหมือนธรรมชาติทุกกระเบียดนิ้ว และแม้ว่าจะใช้ลักษณะรูปแบบของธรรมชาติเป็นพื้นฐาน แต่ก็มิได้เน้นจนเกิดความสำคัญเท่ากับลักษณะรูปแบบที่สร้างสรรค์โดยจินตนาการ เพราะฉะนั้นเมื่อสร้างสรรค์รูปที่ประสงค์จะเอาไว้สักการบูชา จึงพยายามถ่ายทอดแนวคิดออกมาให้มีลักษณะที่สูงกว่าธรรมชาติ สังเกตได้จากพระพุทธรูป ซึ่งมีส่วนประกอบพระวรกาย เช่นเดียวกับมนุษย์ แต่ก็มิได้คล้อยตามลักษณะอันแท้จริงของมนุษย์ตามธรรมชาติ
ศิลปะตะวันออก เป็นศิลปะที่มีลักษณะเด่นชัดในเรื่องของเอกลักษณ์ อันเนื่องมาจากความคิดที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างวิจิตรบรรจงของคนในชาติ นอกจากนั้นศิลปะยังแบ่งออกตามฐานะของบุคคล เช่น ในราชสำนักก็ย่อมจะต้องประณีตวิจิตรตระการตา เพราะเป็นสิ่งของใกล้ชิดกับกษัตริย์ ส่วนศิลปะของบุคคลทั่วไปก็แสดงฐานะที่แตกต่างกันอีกด้วย เช่น สิ่งของเครื่องใช้ของเศรษฐีกับสามัญชนทั่วไป เป็นต้น ที่เป็นไปตามฐานะของบุคคลเช่นนี้ ก็เพื่อความเหมาะสมกับโอกาสที่จะใช้ด้วย เช่น เครื่องราชูปโภคของกษัตริย์ ก็เพื่อแสดงความสง่างามสมศักดิ์ศรีของการเป็นกษัตริย์ อันเป็นประมุขของประเทศ เพราะกษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเอกราชของชาติอีกด้วย
ศิลปะตะวันออกได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างฉลาดและแฝงไว้ด้วยแนวคิดและรูปแบบอันสร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น การสร้างสถูปเจดีย์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พ.ศ. 300 ก็มีสิ่งสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ องค์สถูป บัลลังก์ ฉัตร ดังนั้น แม้ว่ามีการสร้างสรรค์ขึ้นในสมัยต่อมา ก็ยังรักษาแนวคิดเดิมไว้ แต่รูปแบบอาจแปรเปลี่ยนไปบ้างตามแนวความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละยุคสมัยของแต่ละชาติ เพราะความคิดของคนแต่ละยุคแต่ละสมัยไม่เหมือนกัน ความเปลี่ยนแปลงนี้เองเรียกว่า “ วิวัฒนาการ ” ซึ่งเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่มั่นคงอยู่ในรากฐานดั้งเดิม
ศิลปะตะวันออกสามารถจำแนกแหล่งอิทธิพลได้เป็น 2 แหล่งด้วยกัน คือ
  1. ประเทศที่อยู่ในสาย วัฒนธรรมอินเดียมี ไทย พม่า อินโดนีเซีย ลาว เป็นต้น
  2. ประเทศที่อยู่ในสายวัฒนธรรมจีนมี เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม เป็นต้น
ดังนั้นการศึกษาลักษณะทั่วไปของศิลปะตะวันออกจึงต้องเข้าใจแหล่งอิทธิพลทั้ง 2 แหล่งนี้เป็นพื้นฐานด้วย จะช่วยให้สามารถชี้ระบุได้ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม ประยุกต์ศิลป์ และงานหัตถกรรม

   ๓ .ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์
  
     ๓.๑ ระบบการแบ่งยุค
     เรามักนิยมแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาที่มนุษย์ปรากฏขึ้นบนโลกแล้ว ออกเป็น 3 ช่วง โดยเรียกชื่อตามวัสดุที่มนุษย์ในยุคนั้น นำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้
โปรดสังเกตว่า การแบ่งยุคลักษณะนี้ ไม่ได้เป็นการแบ่งช่วงเวลาที่ชัดเจนสำหรับทั่วโลก เนื่องจากมนุษย์ในแต่ละพื้นที่มีพัฒนาการด้านเครื่องมือไม่เท่ากัน เช่น ขณะที่บางชุมชนเข้าสู่ยุคทองเหลืองแล้ว บางชุมชนอาจจะยังอยู่ในยุคหิน ก็เป็นได้


๔.รูปแบบทัศนศิลป์จีน






      ๓.๒ยุคหินเก่า

ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Old Stone Age) ประมาณ 500,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้เริ่มทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยหินอย่างง่ายก่อน เมื่อเวลาผ่านไปก็สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน เครื่องมือหิน มนุษย์ใช้วัสดุจำพวกหินไฟ ซึ่งในยุคนี้สามารถแบ่งเครื่องมือสมัยเก่าออกเป็น 3 ช่วงได้แก่

  1. หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนต้น ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยนั้น ในทวีปยุโรปมีการค้นพบมนุษย์ไฮเดลเบิร์ก (Heidelberg) มนุษย์สไตนไฮน์ (Steinheim) ในทวีปเอเชียมีการค้นพบมนุษย์ชวา (java Man) และมนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ในทวีปแอฟริกามีการค้นพบมนุษย์โฮโมอิเรกตุส (Homoerectus) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานประเภทโครงกระดูกของสัตว์ที่มนุษย์กินเป็นอาหาร ซึ่งสามารถบอกให้เราทราบถึงสภาพแวดล้อมของมนุษย์ในขณะนั้นได้ และหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินมีลักษณะเป็นขวานระเทาะแบบกำปั้น
  2. หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนกลาง ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น เช่น โครงกระดูกมนุษย์นีแอนเดอธัลในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะแหลมคมมากขึ้น มีด้ามยาวมากขึ้นและมีประโยชน์ในการใช้สอยมากขึ้น และยังมีหลักฐานพฤติกรรมทางสังคม เช่น หลักฐานการประกอบพิธีฝังศพ
  3. หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนปลาย ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ที่ค้นพบในยุโรป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โครมันยอง (Cor-Magon) มนุษย์กริมัลติ (Grimaldi) และมนุษย์ชานเซอเลต (Chanceled) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะหลายประเภทกว่ายุคก่อน ได้แก่ หลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินและกระดูกสัตว์โดยการแกะสลัก เช่น เข็มเย็บผ้า ฉมวก หัวลูกศร คันเบ็ด และเครื่องประดับทำด้วยเปลือกหอยและกระดูกสัตว์



        ๓.๓ ยุคหินกลาง
   
     ยุคหินกลาง (Mesolihic Period หรือ Middle Stone Age) ประมาณ 10,000-5,000 ปีล่วงมาแล้วมนุษย์ในช่วงเวลานี้เริ่มมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำตะกร้าสาน ทำรถลาก และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินก็มีความประณีตมากขึ้น ตลอดจนรู้จักนำสุนัขมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
ในสมัยยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักการเลี้ยงสัตว์และเริ่มมีการเพาะปลูกพืช แต่อาชีพหลักของมนุษย์ในสมัยนี้ยังคงเป็นการล่าสัตว์ และยังเร่ร่อนไปตามแหล่งสมบูรณ์ โดยมักตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแหล่งน้ำ ชายฝั่งทะเล ประกอบอาชีพประมง ล่าสัตว์และบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์
        


         ๓.๔ ยุคโลหะ
   
   โลหะชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนำมาหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้คือ ทองแดง ปรากฏหลักฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทิส นำทองแดงมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
ยุคโลหะ (Metal Age) แบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อยคือ ยุคทองแดงปนหิน ยุคสำริด และยุคเหล็ก


       ยุคสำริดเริ่มต้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกไม่พร้อมกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วแหล่งถิ่นฐานส่วนใหญ่สามารถถลุงสำริดได้เมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว สำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทำสำริดค่อนข้างยุงยาก ตั้งแต่การหาแหล่งแร่ การเตรียม การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั้นจึงเป็นการขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยดารตีหรือการหล่อในแม่พิมพ์หินทราย หรือแม่พิมพ์ดินเผา
เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสำริดที่พบตามแหล่งต่าง ๆ ในภูมิภาคต่างๆของโลก นอกจากทำด้วยสำริดแล้วยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากดินเผา หิน และแร่ ในบางแหล่งมีการใช้สำริดต่อเนื่องมาจนถึงยุคเหล็กเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดมีขวาน หอก ภาชนะ กำไล ตุ้มหู ลูกปัด เป็นต้น
ในยุคนี้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนไปมากทั้งด้านการเมืองและสังคม ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนเมือง จึงมีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ตามความสามารถ เช่น กลุ่มอาชีพ มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นต่างๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการผลิตอันนำไปสู่ความมั่นคงด้านปัจจัยพื้นฐานและความมั่งคั่งแก่สังคม มนุษย์จึงมีความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิมและมีความสะดวกสบายมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมสู่ความเป็นรัฐในเวลาต่อมา
แหล่งอารยธรรมที่สำคัญๆ ของโลกล้วนมีการพัฒนาการสังคมจากช่วงเวลาสมัยหินใหม่และสมัยสำริด แหล่งอารยธรรมของโลกที่สำคัญและแหล่งวัฒนธรรมบางแห่ง เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหของจีน และแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงในประเทศไทย



ทัศนธาตุและหลักการออกแบบ

๑. ทัศนธาตุ
ทัศนธาตุ (Visual Elements)  ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง  ส่วนประกอบของศิลปะที่มองเห็นได้  ประกอบไปด้วย

     1. จุด (Dot)  หมายถึง  รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ  ปรากฎที่พื้นผิว  ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด
          จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ  เช่น  นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น  และการนำจุดมาวาง
ให้เหมาะสม  ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้

     2. เส้น (Line)  เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้  เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์  เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะ
ทุกแขนง  ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฎเป็นรูปภาพ
          เส้น (Line)  หมายถึง  การนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว  หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด
เขียน ลาก  ให้เกิดเป็นริ้วรอย
               - เส้นนอน  ให้ความรู้สึกกว้างขวาง  เงียบสงบ  นิ่ง  ราบเรียบ  ผ่อนคลายสายตา
               - เส้นตั้ง  ให้ความรู้สึกสูงสง่า  มั่นคง  แข็งแรง  รุ่งเรือง
               - เส้นเฉียง  ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง  เคลื่อนไหว  รวดเร็ว  แปรปรวน
               - เส้นโค้ง  ให้ความรู้สึกอ่อนไหว  สุภาพอ่อนโยน  สบาย  นุ่มนวล  เย้ายวน
               - เส้นโค้งก้นหอย  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว  การคลี่คลาย  ขยายตัว  มึนงง
               - เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา  ให้ความรู้สึกรุนแรง  กระแทกเป็นห้วง ๆ  ตื่นเต้น  สับสนวุ่นวาย  และการขัดแย้ง
               - เส้นประ  ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง  ไม่มั่นคง  ไม่แน่นอน
          เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง  ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ  เช่น เส้นโค้งคว่ำลง  ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน  ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า  ผิดหวัง  เสียใจ  แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น  ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี  เป็นต้น

     3. รูปร่างและรูปทรง           รูปร่าง (Shape)  หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ  มีความกว้าง  และความยาว
          รูปร่าง  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  คือ
               - รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น  คน  สัตว์  และพืช  เป็นต้น
               - รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน  เช่น  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  และรูปวงกลม  เป็นต้น
               - รูปร่างอิสระ (Free Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์  ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี  ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนของตัวเอง  เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  เช่น  รูปร่างของหยดน้ำ  เมฆ  และควัน  เป็นต้น
          รูปทรง (Form)  หมายถึง  โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฎแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ  คือมีทั้งส่วนกว้าง  ส่วนยาว  ส่วนหนา
หรือลึก  คือ  จะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง  มีเนื้อที่ภายใน  มีปริมาตร  และมีน้ำหนัก

     4. น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value)  หมายถึง  จำนวนความเข้ม  ความอ่อนของสีต่าง ๆ  และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้  เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ  ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ  เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง

     5. สี (Colour)  หมายถึง  สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา  ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 
สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย  เช่น  ทำให้รู้สึกสดใส  ร่าเริง  ตื่นเต้น  หม่นหมอง  หรือเศร้าซึมได้  เป็นต้น
          สีและการนำไปใช้
               5.1 วรรณะของสี (Tone)  จากวงจรสีธรรมชาติ ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ  คือ
                    - สีวรรณะร้อน  ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นหรือร้อน  เช่น  สีเหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม  ส้มแดง  แดง  ม่วงแดง  เป็นต้น
                    - สีวรรณะเย็น  ได้แก่  สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย  เช่น  สีเขียว  เขียวเหลือง  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  เป็นต้น
               5.2 ค่าของสี (Value of colour)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งทำให้ค่อย ๆ จางลงจนขาวหรือสว่างและทำให้ค่อย ๆ เข้มขึ้นจนมืด
               5.3 สีเอกรงค์ (Monochrome)  หมายถึง  สีที่แสดงอิทธิพลเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว  หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพ โดยให้ค่าของสีอ่อน กลาง แก่  คล้ายกับภาพถ่าย ขาว ดำ
               5.4 สีส่วนรวม (Tonality)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งที่ให้อิทธิพลเหนือสีอื่นทั้งหมด  เช่น  การเขียนภาพทิวทัศน์  ปรากฎสีส่วนรวมเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน  เป็นต้น
               5.5 สีที่ปรากฎเด่น  (Intensity)
               5.6 สีตรงข้ามกันหรือสีตัดกัน (Contrast)  หมายถึง  สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติ  เช่น  สีแดงกับสีเขียว  สีน้ำเงินกับสีส้ม  สีม่วงกับสีเหลือง

     6. บริเวณว่าง (Space)  หมายถึง  บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาาในกาารจัดองค์ประกอบใดก็ตาม  ถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว

     7. พื้นผิว (Texture) หมายถึง พื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย 





  

 ๓.๕ ยุคสำริด

    ยุคสำริดเริ่มต้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกไม่พร้อมกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วแหล่งถิ่นฐานส่วนใหญ่สามารถถลุงสำริดได้เมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว สำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทำสำริดค่อนข้างยุงยาก ตั้งแต่การหาแหล่งแร่ การเตรียม การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั้นจึงเป็นการขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยดารตีหรือการหล่อในแม่พิมพ์หินทราย หรือแม่พิมพ์ดินเผา
เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสำริดที่พบตามแหล่งต่าง ๆ ในภูมิภาคต่างๆของโลก นอกจากทำด้วยสำริดแล้วยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากดินเผา หิน และแร่ ในบางแหล่งมีการใช้สำริดต่อเนื่องมาจนถึงยุคเหล็กเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดมีขวาน หอก ภาชนะ กำไล ตุ้มหู ลูกปัด เป็นต้น
ในยุคนี้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนไปมากทั้งด้านการเมืองและสังคม ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนเมือง จึงมีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ตามความสามารถ เช่น กลุ่มอาชีพ มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นต่างๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการผลิตอันนำไปสู่ความมั่นคงด้านปัจจัยพื้นฐานและความมั่งคั่งแก่สังคม มนุษย์จึงมีความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิมและมีความสะดวกสบายมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมสู่ความเป็นรัฐในเวลาต่อมา
แหล่งอารยธรรมที่สำคัญๆ ของโลกล้วนมีการพัฒนาการสังคมจากช่วงเวลาสมัยหินใหม่และสมัยสำริด แหล่งอารยธรรมของโลกที่สำคัญและแหล่งวัฒนธรรมบางแห่ง เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหของจีน และแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงในประเทศไทย

๓.๖ ยุคเหล็ก

     ช่วงเวลานี้เริ่มต้นจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิตโลหะของมนุษย์สามารถหลอมโลหะประเภทเหล็กขึ้นมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ ซึ่งการผลิตเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก แต่ถึงอย่างไรเหล็กก็มีความแข็งแกร่งคงทนกว่าโลหะสำริดมาก
สังคมที่สามารถพัฒนาการผลิตเหล็ก จะสามารถพัฒนาสู่ความเป็นรัฐ เพราะการผลิตเหล็กทำให้สังคมสามารถผลิตอาวุธได้ง่ายและแข็งแกร่งขึ้น จนสามารถขยายกองทัพได้ และมีเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรที่มีความคงทนกว่า
แหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้คือ แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียหรือก็คืออาณาจักรฮิตไทต์ เมื่อ 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว
โดยสรุปแล้ว ยุคเหล็กมีความแตกต่างจากยุคสำริดหลายประการ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต การผลิตเหล็กทำให้กองทัพมีอาวุธที่แข็งแกร่ง นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมจนกลายเป็นรัฐที่มีกำลังทหารที่แข็งแกร่งเข้ายึดครองสังคมอื่นๆ ขยายเป็นอาณาจักรในเวลาต่อมา

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วัดพระเจ้านั่งดิน ต.เวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

                                                    พระนั่งดิน (องค์จริง)
 ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระยาผู้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ(ตำนาน) เมื่อนมจตุจุลศักราช 1,213 ปีระกา เดือน 6 วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์โดยทั่วทางอภินิหารจนพระองค์ได้เสด็จมาถึงเขตเวียงพุทธรสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ (พระธาตุดอยคำในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้พระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะแห่งนี้ ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสจบก็ปรากฏว่าได้มีพระอินทร์หนึ่งองค์ พระยานาคหนึ่งตน ฤาษีสององค์ และพระอรหันต์สี่รูป ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีปเป็นเวลา 1 เดือนกับอีก 7 วัน จึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต พระพุทธองค์จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระพุทธองค์ จึงได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาลรูปปั้นจำลองได้เลื่อนลงจากฐานชุกชี(แท่น) มากราบไหว้พระพุทธองค์ตรัสกับรูปเหมือนพระพุทธองค์ที่ได้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ 5,000 พระพรรษา” พระรูปเหมือนจึงได้น้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงหมายเหตุเอาพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ว่า พระเจ้านั่งดิน
   เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเจ้านั่งดินในปัจจุบันนี้ไม่ได้ประทับฐานชุกชีหรือพระแท่นเหมือนกับพระพุทธรูปในวิหารวัดอื่นๆทั่วไป มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมาว่า เคยมีชาวบ้านได้พากันสร้างฐานชุกชีแล้วได้อัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ฟ้าได้ผ่าลงมาที่กลางพระวิหารถึง 3 ครา พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบจนทุกวันนี้


                                                 พระนั่งดิน (องค์จำลอง)

วัดพระเจ้านั่งดิน ต.เวียง
มองไปทางขวามือจะเห็นป้ายจาก ททท. ความว่า...
วัดพระนั่งดิน Wat Phra Nang Din
เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฏรสร้างฐานรองรับ เพื่ออัญเชิญพระประธารขึ้นประดิษฐานบนฐานรองรับ แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบเนื่องกันต่อมาว่า พระนั่งดิน ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธรูปนี้สร้างตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ดังนั้น พระเจ้านั่งดินน่าจะมีอายุกว่า 2,500 ปี ในการสร้างพระพุทธรูปนี้ ใช้เวลา 1 เดือน 7 วัน จึงเสร็จ เมื่อสร้างเสร็จได้ประดิษฐานไว้บนพื้นราบ ไม่มีฐานชุกชีดังพระพุทธรรูอื่นๆทั่วไป
Unlike other temples the principal Buddha image here sits on the ground instead of a base. There used to be a public attempt to build a base for the image, but it turned out unsuccessful. The image was ever since called Phra Nang Din, which refers to an image sitting on the ground. Legend has it that the image was built in the time of the Lord Buddha; it was, therefore, believed to be over 2,500 years old.
และถ้ามองไปทางซ้ายมือ หน้าพระอุโบสถ จะเห็นป้ายบอกประวัติของพระเจ้านั่งดินทำด้วยคอนกรีตอันใหญ่ ความว่า…
ตามตำนานกล่าวว่า พระยาผุ้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ (ตำนาน) เมื่อนมจตุ จุลศักราช ๑๒๑๓ ปีระกาเดือน 6 แรม ๓ ค่ำ วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกเมตตาสรรพสัตว์รอบโลกโดยทางอภินิหาร พอพระองค์เสด็จมาถึงเวียงพุทธสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระองค์ได้เสด็จประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ พระธาตุดอยคำปัจจุบัน ทรงแผ่เมตตาและประสาทพรตรัสสั่งพระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น ให้สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะนี้ พอสัพพัญญูเจ้าตรัสจบ ก็ปรากฏว่ามี พระยาอินทร์องค์หนึ่ง พระยานาคตนหนึ่ง พระฤระฤาษี ๒ รูป และพระอรหันต์ ๔ องค์ ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีป มาสร้างพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ โดยใช้เวลาสร้างหนึ่งเดือนกับเจ็ดวันจึงแล้วเสร็จ
ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จไปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงได้เสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้งทรงเห็นรูปเหมือนที่ให้ทรงสร้างนั้น เล็กกว่าองค์ตถาคต จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระองค์ แล้วพระสัพพัญญูเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล รูปปั้นจำลองจึงเลื่อนลงจากฐานชุกชี (แท่น) มากราบไว้พระสัพพัญญูเจ้า พระองค์ได้ตรัสเทศนากับรูปเหมือนที่ให้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา” พระรูปเหมือนนั้นได้กราบน้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่บนผืนดินนั้น พระรูปเหมือนดังกล่าวคือองค์พระเจ้านั่งดินในปัจจุบันนี้เอง
เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเจ้านั่งดินองค์นี้ ไม่ได้ประทับบนฐานชุกชี เหมือนกับพระพุทธรูปในอุโบสถวัดอื่นๆ มีผู้เฒ่าแก่เล่าว่า เคยมีชาวบ้านพากันสร้างฐานชุกชี แล้วอัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่มีเหตุปาฏิหาริย์เกิดฟ้าผ่านลงมาที่อุโบสถถึง ๓ ครั้ง พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาลงมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบเท่าทุกวัน นี้

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วัดพระนั่งดิน อ.เชียงคำ จ.พะเยา

ณ อุโบสถของวัดเล็กๆ ในอำเภอเชียงคำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ พุทธลักษณะแม้ไม่งดงามนัก ด้วยอาจเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านอันสร้างมาเก่าแก่โบราณจนสืบค้นประวัติมิได้ ทว่าความประหลาดคือ เป็นพระพุทธรูปที่มิยอมขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี มิว่าชาวบ้านทุกยุคทุกสมัยจะใช้หนทางใดก็ตาม เหตุอัศจรรย์นี้เอง ผู้คนจึงเรียกกันว่า 'พระนั่งดิน'


วัดพระนั่งดิน อยู่ที่บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นวัดที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงคำและพื้นที่ใกล้เคียง และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอเชียงคำมาช้านาน ภายในอุโบสถมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตุง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ศิลปะของชาวเหนือ และเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป ด้วยไม่มีฐานชุกชีรองรับ พระพุทธรูปจึงนั่งอยู่บนพื้น ชาวบ้านเคยสร้างฐานชุกชีและอัญเชิญองค์พระพุทธรูปขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่ายกไม่ขึ้น จนถึงปัจจุบันนี้ จึง เรียกขานนามสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน หรือพระเจ้านั่งดิน



ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าขานสืบกันมาว่า ชาวบ้านเคยสร้างฐานชุกชีและได้อันเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประดิษฐาน แต่เกิดเหตุอัศจรรย์ ฟ้าผ่าลงมาที่กลางพระวิหารถึง 3 ครั้ง ชาวบ้านจึงได้อาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิม
มีตำนานกล่าวถึงประวัติพระเจ้านั่งดินไว้ว่า พระยาครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ(ตำนาน) เมื่อนมจตุจุลศักราช 1,213 ปีระกา เดือน 6 วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์ จนเสด็จถึงเตเวียงพุทธรสะ(อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ(พระธาตุดอยคำในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้พระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ที่เมืองพุทธรสะนี้ ครั้งเมื่อทรงตรัสจบก็ปรากฎมีพระอินทร์ 1 องค์ พระยานาค 1 ตน ฤษี 2 องค์ และพระอรหันต์ 4 รูป ช่วยกันเนรมิตรูปเหมือนจากดินศักดิ์สิทธิ์ ณ เมืองลังกา ใช้เวลา 1 เดือน กับ 7 วัน จึงแล้วเสร็จ เมื่อพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว ได้เสด็จสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนนั้นมีขนาดเล็กกว่าองค์ตถาคต จึงตรัสให้เอาดินมาเสริม แล้วพระพุทธเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาลรูปเหมือนนั้นให้เลื่อนลงจากฐาน ชุกชี มากราบไหว้พระองค์ พระพุทธเจ้าตรัสกับรูปเหมือนว่า "ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ 5,000 พระพรรษา" รูปเหมือนน้อมรับ และประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา