น.ส. แจ่มใส อุทธิยา

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ศิลปวิจารณ์

ความหมายของศิลปวิจารณ์

การวิจารณ์ผลงานศิลปะโดยเฉพาะงานจิตรกรรม  และประติมากรรม     นับเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์อย่างยิ่ง  ถ้าการวิจารณ์นั้นเป็นไปอย่างเที่ยวธรรมและผู้วิจารณ์มีความรู้ความสามารถรอบรู้โดยกระทำไปโดยถูกทำนองคลองธรรม ย่อมเป็นการสนับสนุนให้ผู้สร้างผลงานได้ทำงานก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพ
   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  (2525,765)  ได้ให้ความหมายของคำว่าวิจารณ์ว่า  หมายถึง  การติชมโดยยึดหลักวิชาการโดยมีความรู้เชื่อถือได้
   การวิจารณ์โดยทั่วไปหมายถึง  การแสดงความคิดเห็น  ติชม  ตามความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  เพื่อการปรับปรุงแก้ไขผลงานนั้นๆ สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยสุจริตใจ
   ศิลปะวิจารณ์  จึงหมายถึง  การแสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะ  เช่นภาพเขียน   ภาพปั้น  และการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบต่างๆทั่วไป เพื่อการเสนอแนะแก้ไขปรับปรุงโดยสุจริตใจ
หลักการวิจารณ์งานศิลปตามหลักสุนทรียศาสตร์
   ปัจจุบันศิลปินด้านทัศนศิลป์มีอิสระมากขึ้น  แนวความคิด  สร้างสรรค์  จินตนาการจึงไร้ขอบเขต  ผลงานทางทัศนศิลป์จึงออกมาหลายรูปแบบผสมผสานด้วยเทคนิคและวิธีการที่แปลกใหม่  ทำให้ผู้ที่ชมผลงานยากที่จะเข้าใจเนื้อหาและความงาม  ดังนั้นเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจในทัศนศิลป์เบื้องต้น  โดยเฉพาะงานจิตรกรรมและประติมากรรมควรดูและสังเกตดังนี้
   1)  ดูการ์ดที่ติดงานใกล้ผลงาน  (ถ้ามี)  บอกชื่อผู้สร้างผลงาน  ชื่อผลงาน  เทคนิคผลงาน  ว่าทำจากอะไร  แบบใด  อย่างไร  เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาเรื่องราวของผลงานเป็นอันดับแรก
   2)  ดูว่าเป็นศิลปะสาขาอะไร  ทัศนศิลป์แขนงใด  ลักษณะใด  และประเภทอะไร  เช่นสาขาวิจิตรศิลป์   ทัศนศิลป์แขนงจิตรกรรม  ลักษณะการวาดเส้นประเภทภาพหุ่นนิ่ง
   3)  ดูสิ่งที่ทำให้เกิดมิติในผลงานทัศนศิลป์  ได้แก่  มิติในด้านรูปภาพและรูปทรง
   4)  ดูส่วนประกอบของความงาม  จุด (ถ้ามี)  เส้น  2  ประเภท  รูปร่าง  3 ประเภท (ถ้ามี) รูปทรง  3  ประเภท  ความรู้สึกของสีและสีตรงข้าม  แสงเงา  พื้นผิว  จังหวะ  ความกลมกลืนของเส้น  สี  รูปทรง  และหลักของการจัดภาพ
   5)  ดูเกี่ยวกับการจัดภาพมี  2  แบบ  คือ
      5.1   แบบประจำชาติ  2  แบบ 
5.1.1  แบบไทยประเพณีรูปแบบไทยเดิม
         5.1.2  แบบไทยประเพณีรูปแบบไทยประยุกต์
      5.2  แบบสากล  2  แบบ
         5.2.1  แบบสากล  แบบร่วมสมัยมี  3 รูปแบบ
            (1) รูปแบบรูปธรรม
            (2) รูปแบบกึ่งนามธรรม
            (3) รูปแบบนามธรรม
         5.2.2  แบบสากล  แบบสมัยใหม่มี  2  รูปแบบ
            (1)  รูปแบบกึ่งนามธรรม
            (2)  รูปแบบนามธรรม
   6)  ดูทฤษฎีการถ่ายทอดทางทัศนศิลป์  เช่นทฤษฎีเหมือนจริง  ทางปัญญา  ฯลฯ
   7)  ดูเรื่องราวที่นำมาสร้างเกี่ยวกับเรื่องใด  เช่น ประวัติศาสตร์ ศาสนา ชีวิตประจำวัน  ฯลฯ
     ดูคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางเรื่องราว

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานศิลปะ  ผู้วิจารณ์ที่ดีจำต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็นผู้รอบรู้และมีคุณธรรมประจำใจพอสรุปได้ดังนี้
   1)  เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางศิลปะประเภทใดประเภทหนึ่ง  ที่จะวิจารณ์โดยเฉพาะและรู้ละเอียดลึกซึ้ง
   2)  เป็นผู้มีจิตใจรักชื่นชมในศิลปะและสุนทรียภาพอย่างแท้จริง
   3)  เป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวาง  รักษาความเป็นกลาง  ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น  รู้จักประนีประนอมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
   4)  เป็นผู้ที่มีความสามารถเชื่อมโยงวิชาความรู้อื่นๆ  กับทัศนศิลป์ได้เป็นอย่างดี
   5)  เป็นผู้ที่มีอุดมคติในการวิจารณ์   ไม่ใช้คำวิจารณ์เป็นเครื่องมือในการทำลายผู้อื่นมีความจริงใจปราศจากอคติใดๆ
   6)  เป็นผู้ที่มีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย  เคารพสิทธิเสรีภาพของศิลปินและสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
   7)  เป็นผู้ที่มีอารมณ์  และความรู้สึกเยือกเย็น  หลีกเลี่ยงความรุนแรง  สามารถสรุปปัญหาที่เกิดจากอารมณ์และเหตุผลได้
   สรุป  ในการวิจารณ์ศิลปะใดๆ ย่อมเป็นการยากที่จะวิจารณ์ได้ถูกต้องเที่ยวแท้เสมอไปเพราะอาจมีภาพลวงตาทำให้ผู้วิจารณ์เกิดความเข้าใจผิดพลาด  อันมีผลให้การวิจารณ์กลายเป็นนักประชาธิปไตยทั้งทางตรงและทางอ้อม  ดังนี้
   1)  ประโยชน์ต่อวิจารณ์ผลงานศิลปะ
      1.1  ทำให้ทราบและเข้าใจแนวคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างผลงานด้านศิลปะต่างๆ
      1.2  ทำให้เป็นผู้มีหลักการบนพื้นฐานของปัญญา  ที่สามารถรู้ให้เหตุผลตามเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง
      1.3  ทำให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะและสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
      1.4  ได้แสดงออกตามประสบการณ์ด้วยเหตุผลและมีความเที่ยงธรรม
      1.5  ทำให้มีความรู้สึกนึกคิด  ละเอียดและประณีตอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ
      1.6  ทำให้เป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ  มีความรักและความใกล้ชิดวงการศิลปะอย่างกว้างขวาง
      1.7  มีความภาคภูมิใจที่ได้ชมผลงานที่ได้วิจารณ์  และขอสนับสนุนให้เจ้าของผลงานได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพต่อสังคมต่อไป
   2.  ประโยชน์ต่อผู้สร้างผลงานทัศนศิลป์
      2.1  มีโอกาสนำเสนอและอธิบายจุดมุ่งหมายแนวคิดสร้างสรรค์ในผลงานของตนเอง
      2.2  รับทราบแนวความคิดและข้อมูลของผู้อื่น  เพื่อนำไปปรับปรุง  แก้ไข  เพิ่มเติม  และพัฒนาให้ผลงานของตนดีและมีคุณค่ายิ่งขึ้น
      2.3  มีโอกาสแนะนำเทคนิคและวิธีการอย่างถูกต้อง
      2.4  มีขันติ  เมื่อถูกกล่าวติเตียนโดยตรงและรู้จักยอมรับความเป็นจริง
      2.5  ผลงานถูกวิจารณ์เกิดการรับรู้  มีประสบการณ์มากขึ้น
      2.6  จิตใจเกิดพลังอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ผลงานด้านทัศนศิลป์ที่มีเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป
      2.7  เกิดความรู้สึกที่ดี  มีความเข้าใจกันระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้วิจารณ์

   สรุป  ในการทำงานศิลปะใดๆ ก็ตาม  เมื่อทำขึ้นสำเร็จเป็นผลงานและปรากฏแก่สายตาของมนุษย์ทั่วไป  ก็มักจะได้รับการกล่าวขาน  ติชม  ซึ่งอาจมีผลงานทั้งทางบวกและทางลบต่อผู้วิจารณ์  ดังนั้น  เพื่อไม่ให้ครหาหรือติเตียนเกิดขึ้น  การวิจารณ์ควรเป็นไปในแนวทางสร้างสรรค์ตัวบุคคลและสังคม  ในลักษณะของการให้ข้อเสนอแนะ  ส่งเสริมให้กำลังใจ  สำหรับตัวผู้วิจารณ์หรือผู้ประเมินผลงานศิลปะ  จำเป็นต้องมีความเข้าใจในเรื่องของสุนทรียภาพและทัศนศิลป์เฉพาะแขนงเป็นอย่างดี

                                                            วิดิโอของศิลปวิจารณ์

ศิลปะปฏิบัติ
 

การ์ด โดยปกติจะเป็นวัตถุที่ทำมาจากกระดาษบางๆ หรือพลาสติก ภายในจะมีรูปภาพ มีถ้อยคำดีๆ เนื่องในโอกาสต่างๆ รูปแบบของการ์ดมีทั้การ์ด โดยปกติจะเป็นวัตถุที่ทำมาจากกระดาษบางๆ หรือพลาสติก ภายในจะมีรูปภาพ มีถ้อยคำดีๆ เนื่องในโอกาสต่างๆ รูปแบบของการ์ดมีทั้งที่เป็นการ์ดทั่วไป การ์ดอิเล็กทรอนิกส์ การ์ดแบบมีเสียงเพลง การ์ด pop up การ์ดทุกแบบล้วนมีสเน่ห์ในตัวของมันเองที่เรียกรอยยิ้มได้เสมอ การ์ดแบบมีเสียงเพลง การ์ด pop up การ์ดทุกแบบล้วนมีสเน่ห์ในตัวของมันเองที่เรียกรอยยิ้มได้เสมอ
     Pop-up คือ สิ่งที่มันโดดขึ้นมา หรือผลุบโผล่ขึ้นมา และสามารถดึงดูดความสนใจของเราได้
     การ์ด Pop-up ก็คือการ์ดที่พอเปิดขึ้นมาดูแล้ว จะพบว่ามีรูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่น่าสนใจโผล่ขึ้นมาจากการ์ดนั้น มักเป็นกระดาษที่ตัดแยกออกมาให้เห็นความนูนเด่นออกมาในลักษณะของภาพสามมิตินั่นเอง ทำให้สร้างความน่าดึงดูดใจได้มากทีเดียว และเมื่อปิดภาพนั้นก็จะกลับไปอยู่ในที่เดิม ซึ่งสามารถถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ส่งผ่านความสุขแบบจับต้องได้ ให้ประทับในความทรงจำของใครบางคนที่ได้รับมันไป โดยอาจส่งในเทศกาลแห่งความสุข อย่างเช่นวันคริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์ ฯลฯ หรือจะวันสำคัญของคนสำคัญ เช่น วันคล้ายวันเกิด วันครบรอบต่างๆ ฯลฯ
     ปัจจุบันมีนักคิด นักประดิษฐ์สร้างสรรค์ออกมามากมาย หรือจะเป็นจากจินตนาการของตัวคนส่งเองก็มีไม่ใช่น้อย รูปแบบ ความสวยงามเป็นเพียงองค์ประกอบเล็กน้อยที่ทำให้การ์ดนั้นดูน่าสนใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่เป็นสาเหตุหลักให้ผู้รับยังคงเก็บการ์ดใบหนึ่งไว้ทั้งที่เวลาผ่านมาเนิ่นนานแล้ว น่าจะมาจากความตั้งใจ ความทรงจำและความหมายดีๆ ที่ผู้ให้ฝากมากับการ์ดใบนั้นมากกว่างที่เป็นการ์ดทั่วไป การ์ดอิเล็กทรอนิกส์
     Pop-up คือ สิ่งที่มันโดดขึ้นมา หรือผลุบโผล่ขึ้นมา และสามารถดึงดูดความสนใจของเราได้
     การ์ด Pop-up ก็คือการ์ดที่พอเปิดขึ้นมาดูแล้ว จะพบว่ามีรูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่น่าสนใจโผล่ขึ้นมาจากการ์ดนั้น มักเป็นกระดาษที่ตัดแยกออกมาให้เห็นความนูนเด่นออกมาในลักษณะของภาพสามมิตินั่นเอง ทำให้สร้างความน่าดึงดูดใจได้มากทีเดียว และเมื่อปิดภาพนั้นก็จะกลับไปอยู่ในที่เดิม ซึ่งสามารถถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ส่งผ่านความสุขแบบจับต้องได้ ให้ประทับในความทรงจำของใครบางคนที่ได้รับมันไป โดยอาจส่งในเทศกาลแห่งความสุข อย่างเช่นวันคริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทการ์ด โดยปกติจะเป็นวัตถุที่ทำมาจากกระดาษบางๆ หรือพลาสติก ภายในจะมีรูปภาพ มีถ้อยคำดีๆ เนื่องในโอกาสต่างๆ รูปแบบของการ์ดมีทั้งที่เป็นการ์ดทั่วไป การ์ดอิเล็กทรอนิกส์ การ์ดแบบมีเสียงเพลง การ์ด pop up การ์ดทุกแบบล้วนมีสเน่ห์ในตัวของมันเองที่เรียกรอยยิ้มได้เสมอ
     Pop-up คือ สิ่งที่มันโดดขึ้นมา หรือผลุบโผล่ขึ้นมา และสามารถดึงดูดความสนใจของเราได้
     การ์ด Pop-up ก็คือการ์ดที่พอเปิดขึ้นมาดูแล้ว จะพบว่ามีรูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่น่าสนใจโผล่ขึ้นมาจากการ์ดนั้น มักเป็นกระดาษที่ตัดแยกออกมาให้เห็นความนูนเด่นออกมาในลักษณะของภาพสามมิตินั่นเอง ทำให้สร้างความน่าดึงดูดใจได้มากทีเดียว และเมื่อปิดภาพนั้นก็จะกลับไปอยู่ในที่เดิม ซึ่งสามารถถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ส่งผ่านความสุขแบบจับต้องได้ ให้ประทับในความทรงจำของใครบางคนที่ได้รับมันไป โดยอาจส่งในเทศกาลแห่งความสุข อย่างเช่นวันคริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์ ฯลฯ หรือจะวันสำคัญของคนสำคัญ เช่น วันคล้ายวันเกิด วันครบรอบต่างๆ ฯลฯ
     ปัจจุบันมีนักคิด นักประดิษฐ์สร้างสรรค์ออกมามากมาย หรือจะเป็นจากจินตนาการของตัวคนส่งเองก็มีไม่ใช่น้อย รูปแบบ ความสวยงามเป็นเพียงองค์ประกอบเล็กน้อยที่ทำให้การ์ดนั้นดูน่าสนใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่เป็นสาเหตุหลักให้ผู้รับยังคงเก็บการ์ดใบหนึ่งไว้ทั้งที่เวลาผ่านมาเนิ่นนานแล้ว น่าจะมาจากความตั้งใจ ความทรงจำและความหมายดีๆ ที่ผู้ให้ฝากมากับการ์ดใบนั้นมากกว่า
 
น์ ฯลฯ หรือจะวันสำคัญของคนสำคัญ เช่น วันคล้ายวันเกิด วันครบรอบต่างๆ ฯลฯ
     ปัจจุบันมีนักคิด นักประดิษฐ์สร้างสรรค์ออกมามากมาย หรือจะเป็นจากจินตนาการของตัวคนส่งเองก็มีไม่ใช่น้อย รูปแบบ ความสวยงามเป็นเพียงองค์ประกอบเล็กน้อยที่ทำให้การ์ดนั้นดูน่าสนใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่เป็นสาเหตุหลักให้ผู้รับยังคงเก็บการ์ดใบหนึ่งไว้ทั้งที่เวลาผ่านมาเนิ่นนานแล้ว น่าจะมาจากความตั้งใจ ความทรงจำและความหมายดีๆ ที่ผู้ให้ฝากมากับการ์ดใบนั้นมากกว่า
 

 

การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

                                          การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

1.หลักการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์มีสิ่งที่ควรคำนึง ดังนี้

- เอกภาพ

- สมดุล

- จุดเด่นและการเน้น

- ความกลมกลืน

- จังหวะ

เอกภาพ หมายถึง การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายไปคนละทิศทางทำให้ขาดประสานสัมพันธ์กัน งานทัศนศิลป์ที่ขาดเอกภาพจะทำให้ขากการจูงใจในการคิด ขาดความสนใจ ขาดจุดเด่น เกิดความสับสนในความหมาย งานทัศนศิลป์ควนนำเสนอเรื่องราว แนวความคิด จุดสนใจเพียงหนึ่งเดียว โดยมีส่วนประกอบอื่นมาช่วยสนับสนุนให้จุดเด่นที่ต้องการน่าสนใจขึ้นมา ดังนั้นในงานทัศนศิลป์ผู้สร้างงานต้องอาศัยจุดมุ่งหมายไว้ให้แน่นอนว่าจะเสนอเนื้อหาในแนวใด

เทคนิค Collograph
ผลงานอาจารย์ชะลูด นิ่มเสมอ
 
- สมดุล หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ให้มีความเหมาะสมไม่เอียงเอนไปข้างใดข้างหนึ่งของภาพ สมดุลมี 2 แบบ คือ

สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน เป็นลักษณะการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ที่ยึดถือความเหมือนกันทุกประการทั้ง 2 ข้าง เช่น ความสมดุลของร่างกายมนุษย์ เป็นต้น
 
การจัดภาพแบบ สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน
ผลงาน ชุด “ธรรมปรัญา : เทวานุภาพ”
โดย สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์
 
สมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน เป็นสมดุลทางความรู้สึกในการมองเห็น โดยที่วัตถุหรือเนื้อหาในภาพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
 

การจัดภาพแบบ สมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน
ที่มาของภาพ

- จุดเด่นและการเน้น หมายถึง ส่วนสำคัญที่สุดของภาพที่ต้องการแสดง ซึ่งนำไปสู่การบอกเล่าเนื้อหาทั้งหมดของภาพหรือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มอง ในทางทัศนศิลป์จุดสนใจควรมีจุดเดียว ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่แสดงความสำคัญหรือมีสีสันสดใสที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเน้นให้เกิดจุดเด่นด้วยการสร้างความแตกต่างขึ้นในภาพ จุดเด่นไม่จำเป็นต้องอยู่กลางภาพเสมอไป อาจจะอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพก็ได้


จุดเด่นและการเน้น
ที่มาของภาพ

- ความกลมกลืน เป็นสิ่งสำคัญสุดท้ายของการจัดองค์ประกอบศิลป์ ซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะความกลมกลืนจะทำให้ภาพงดงาม และนำไปสู่เนื้อหาเรื่องราวที่นำมาเสนอ ความกลมกลืนมี 2 แบบ คือ

-ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน
-ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง



ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน
ที่มาของภาพ

การแสดงออกทางทัศนศิลป์ของศิลปิน

รูปแบบการแสดงออกทางทัศนศิลป์

แบ่งโดยรวมได้สามลักษณะคือ
1. รูปแบบเหมือนจริงหรือรูปธรรม
2. รูปแบบลดตัดทอนหรือกึ่งนามธรรม
และ 3.รูปแบบนามธรรม
รูปแบบเหมือนจริง
จะถ่ายทอดตามลักษณะเหมือนจริงตามที่ตามองเห็น

รูปแบบลดตัดทอนหรือกึ่งนามธรรมจะถ่ายทอดสิ่งที่มองเห็นโดยลดตัดทอนให้เหลือไว้แต่สิ่ง
สำคัญที่ต้องการเน้นโดยยังเหลือเค้าโครงเนื้อเดิมไว้บางส่ว

รูปแบบนามธรรมไม่แสดงเรื่องราว  แต่จะให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก
ที่ผู้ดูมีต่อผลงาน

                                            วิดีโอของการออกแบบทางทัศนศิลป์ของศิลปิน



     อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่กรุงเทพมหานคร บุตร นายชุบและนางสว่างจันทร์ โปษยกฤต ระยะแรกเข้าศึกษา ต่อที่
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปากร

ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2543 ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 52 นายช่างเอกในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
อาจารย์จักรพันธุ์ เคยเป็นพระอาจารย์พิเศษถวายการสอนวิชาจิตรกรรมให้กับทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ปัจจุบันได้ก่อตั้งมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ซึ่งเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ มูลนิธิ สถานที่ทำงาน และโรงละครหุ่นกระบอก ขึ้นที่บริเวณบ้านพัก ถนนเอกมัย

อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต เป็นศิลปินอิสระที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมทั้งแบบไทยประเพณีและศิลปะร่วมสมัย มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อีกทั้งผลงานอื่นๆ ได้แก่ งานพุทธศิลป์
ประเภทจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ เช่น โบสถ์วัดตรีทศเทพวรวิหาร วัดเขาสุกิม งานประติมากรรมไทย เช่น ประติมากรรมรูปเจ้าเงาะกับเด็กเลี้ยงควาย จากเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม งานหุ่นกระบอก เช่น หุ่นกระบอกเรื่องสามก๊ก
ลิลิตตะเลงพ่าย งานซ่อมหุ่นวังหน้า เป็นต้น

จากปี พ.ศ. 2510 จนถึงปัจจุบัน เป็นศิลปินอิสระ ทำงานจิตรกรรม งานหุ่นไทย และงานวิจิตรศิลป์อื่น ๆ อาจารย์จักรพันธุ์ได้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต
ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ รวบรวมงานช่างอันทรงคุณค่าตั้งแต่สมัยโบราณและงานช่างสกุลหนึ่งในรัชกาลที่ 9 เป็นสถานที่ทำงานของประธานมูลนิธิ ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินพื้นบ้านดีเด่น
ระดับปรมาจารย์ถึง 5 ท่าน ซึ่งทั้ง 5 ท่าน อาจารย์จักรพันธุ์ได้เขียนไว้ในหนังสือ คิดถึงครู ได้แก่


คุณครูชื้น สกุลแก้ว ปรมาจารย์การเชิดหุ่นกระบอก
คุณครูวงษ์ รวมสุข ปรมาจารย์การเชิดหุ่นกระบอก
คุณครูบุญยงค์ เกตุคง ปรมาจารย์การดนตรีไทย
คุณครูบุญยัง เกตุคง ปรมาจารย์การดนตรีไทย
คุณครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ ปรมาจารย์การดนตรีไทย

อาจารย์จักรพันธุ์  โปษยกฤต เป็นศิลปินที่มีคุณสมบัติที่น่ายกย่อง มีผลงานด้านทัศนศิลป์  ที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมีปริมาณงานหลากหลาย
มากมายเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทุกระดับ ผลงานของท่านแสดงถึงการสร้างสรรค์ การสืบสาน การพัฒนาการอนุรักษ์ และการเผยแพร่อย่างครบถ้วน จึงได้รับการยกย่องเชิดชู
เกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)  ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๓

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ทัศนธาตุ

ทัศนธาตุและหลักการออกแบบ

๑. ทัศนธาตุ
ทัศนธาตุ (Visual Elements)  ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง  ส่วนประกอบของศิลปะที่มองเห็นได้  ประกอบไปด้วย

     1. จุด (Dot)  หมายถึง  รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ  ปรากฎที่พื้นผิว  ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด
          จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ  เช่น  นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น  และการนำจุดมาวาง
ให้เหมาะสม  ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้

     2. เส้น (Line)  เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้  เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์  เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะ
ทุกแขนง  ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฎเป็นรูปภาพ
          เส้น (Line)  หมายถึง  การนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว  หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด
เขียน ลาก  ให้เกิดเป็นริ้วรอย
               - เส้นนอน  ให้ความรู้สึกกว้างขวาง  เงียบสงบ  นิ่ง  ราบเรียบ  ผ่อนคลายสายตา
               - เส้นตั้ง  ให้ความรู้สึกสูงสง่า  มั่นคง  แข็งแรง  รุ่งเรือง
               - เส้นเฉียง  ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง  เคลื่อนไหว  รวดเร็ว  แปรปรวน
               - เส้นโค้ง  ให้ความรู้สึกอ่อนไหว  สุภาพอ่อนโยน  สบาย  นุ่มนวล  เย้ายวน
               - เส้นโค้งก้นหอย  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว  การคลี่คลาย  ขยายตัว  มึนงง
               - เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา  ให้ความรู้สึกรุนแรง  กระแทกเป็นห้วง ๆ  ตื่นเต้น  สับสนวุ่นวาย  และการขัดแย้ง
               - เส้นประ  ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง  ไม่มั่นคง  ไม่แน่นอน
          เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง  ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ  เช่น เส้นโค้งคว่ำลง  ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน  ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า  ผิดหวัง  เสียใจ  แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น  ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี  เป็นต้น

     3. รูปร่างและรูปทรง           รูปร่าง (Shape)  หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ  มีความกว้าง  และความยาว
          รูปร่าง  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  คือ
               - รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น  คน  สัตว์  และพืช  เป็นต้น
               - รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน  เช่น  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  และรูปวงกลม  เป็นต้น
               - รูปร่างอิสระ (Free Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์  ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี  ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนของตัวเอง  เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  เช่น  รูปร่างของหยดน้ำ  เมฆ  และควัน  เป็นต้น
          รูปทรง (Form)  หมายถึง  โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฎแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ  คือมีทั้งส่วนกว้าง  ส่วนยาว  ส่วนหนา
หรือลึก  คือ  จะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง  มีเนื้อที่ภายใน  มีปริมาตร  และมีน้ำหนัก

     4. น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value)  หมายถึง  จำนวนความเข้ม  ความอ่อนของสีต่าง ๆ  และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้  เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ  ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ  เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง

     5. สี (Colour)  หมายถึง  สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา  ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 
สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย  เช่น  ทำให้รู้สึกสดใส  ร่าเริง  ตื่นเต้น  หม่นหมอง  หรือเศร้าซึมได้  เป็นต้น
          สีและการนำไปใช้
               5.1 วรรณะของสี (Tone)  จากวงจรสีธรรมชาติ ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ  คือ
                    - สีวรรณะร้อน  ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นหรือร้อน  เช่น  สีเหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม  ส้มแดง  แดง  ม่วงแดง  เป็นต้น
                    - สีวรรณะเย็น  ได้แก่  สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย  เช่น  สีเขียว  เขียวเหลือง  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  เป็นต้น
               5.2 ค่าของสี (Value of colour)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งทำให้ค่อย ๆ จางลงจนขาวหรือสว่างและทำให้ค่อย ๆ เข้มขึ้นจนมืด
               5.3 สีเอกรงค์ (Monochrome)  หมายถึง  สีที่แสดงอิทธิพลเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว  หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพ โดยให้ค่าของสีอ่อน กลาง แก่  คล้ายกับภาพถ่าย ขาว ดำ
               5.4 สีส่วนรวม (Tonality)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งที่ให้อิทธิพลเหนือสีอื่นทั้งหมด  เช่น  การเขียนภาพทิวทัศน์  ปรากฎสีส่วนรวมเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน  เป็นต้น
               5.5 สีที่ปรากฎเด่น  (Intensity)
               5.6 สีตรงข้ามกันหรือสีตัดกัน (Contrast)  หมายถึง  สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติ  เช่น  สีแดงกับสีเขียว  สีน้ำเงินกับสีส้ม  สีม่วงกับสีเหลือง

     6. บริเวณว่าง (Space)  หมายถึง  บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาาในกาารจัดองค์ประกอบใดก็ตาม  ถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว

     7. พื้นผิว (Texture) หมายถึง พื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย 




                                                        วิดีโอของงานทัศนธาตุ