น.ส. แจ่มใส อุทธิยา

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การแสดงออกทางทัศนศิลป์ของศิลปิน

รูปแบบการแสดงออกทางทัศนศิลป์

แบ่งโดยรวมได้สามลักษณะคือ
1. รูปแบบเหมือนจริงหรือรูปธรรม
2. รูปแบบลดตัดทอนหรือกึ่งนามธรรม
และ 3.รูปแบบนามธรรม
รูปแบบเหมือนจริง
จะถ่ายทอดตามลักษณะเหมือนจริงตามที่ตามองเห็น

รูปแบบลดตัดทอนหรือกึ่งนามธรรมจะถ่ายทอดสิ่งที่มองเห็นโดยลดตัดทอนให้เหลือไว้แต่สิ่ง
สำคัญที่ต้องการเน้นโดยยังเหลือเค้าโครงเนื้อเดิมไว้บางส่ว

รูปแบบนามธรรมไม่แสดงเรื่องราว  แต่จะให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก
ที่ผู้ดูมีต่อผลงาน

                                            วิดีโอของการออกแบบทางทัศนศิลป์ของศิลปิน



     อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่กรุงเทพมหานคร บุตร นายชุบและนางสว่างจันทร์ โปษยกฤต ระยะแรกเข้าศึกษา ต่อที่
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปากร

ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2543 ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 52 นายช่างเอกในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
อาจารย์จักรพันธุ์ เคยเป็นพระอาจารย์พิเศษถวายการสอนวิชาจิตรกรรมให้กับทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ปัจจุบันได้ก่อตั้งมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ซึ่งเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ มูลนิธิ สถานที่ทำงาน และโรงละครหุ่นกระบอก ขึ้นที่บริเวณบ้านพัก ถนนเอกมัย

อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต เป็นศิลปินอิสระที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมทั้งแบบไทยประเพณีและศิลปะร่วมสมัย มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อีกทั้งผลงานอื่นๆ ได้แก่ งานพุทธศิลป์
ประเภทจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ เช่น โบสถ์วัดตรีทศเทพวรวิหาร วัดเขาสุกิม งานประติมากรรมไทย เช่น ประติมากรรมรูปเจ้าเงาะกับเด็กเลี้ยงควาย จากเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม งานหุ่นกระบอก เช่น หุ่นกระบอกเรื่องสามก๊ก
ลิลิตตะเลงพ่าย งานซ่อมหุ่นวังหน้า เป็นต้น

จากปี พ.ศ. 2510 จนถึงปัจจุบัน เป็นศิลปินอิสระ ทำงานจิตรกรรม งานหุ่นไทย และงานวิจิตรศิลป์อื่น ๆ อาจารย์จักรพันธุ์ได้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต
ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ รวบรวมงานช่างอันทรงคุณค่าตั้งแต่สมัยโบราณและงานช่างสกุลหนึ่งในรัชกาลที่ 9 เป็นสถานที่ทำงานของประธานมูลนิธิ ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินพื้นบ้านดีเด่น
ระดับปรมาจารย์ถึง 5 ท่าน ซึ่งทั้ง 5 ท่าน อาจารย์จักรพันธุ์ได้เขียนไว้ในหนังสือ คิดถึงครู ได้แก่


คุณครูชื้น สกุลแก้ว ปรมาจารย์การเชิดหุ่นกระบอก
คุณครูวงษ์ รวมสุข ปรมาจารย์การเชิดหุ่นกระบอก
คุณครูบุญยงค์ เกตุคง ปรมาจารย์การดนตรีไทย
คุณครูบุญยัง เกตุคง ปรมาจารย์การดนตรีไทย
คุณครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ ปรมาจารย์การดนตรีไทย

อาจารย์จักรพันธุ์  โปษยกฤต เป็นศิลปินที่มีคุณสมบัติที่น่ายกย่อง มีผลงานด้านทัศนศิลป์  ที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมีปริมาณงานหลากหลาย
มากมายเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทุกระดับ ผลงานของท่านแสดงถึงการสร้างสรรค์ การสืบสาน การพัฒนาการอนุรักษ์ และการเผยแพร่อย่างครบถ้วน จึงได้รับการยกย่องเชิดชู
เกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)  ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น