น.ส. แจ่มใส อุทธิยา

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

                                          การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

1.หลักการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์มีสิ่งที่ควรคำนึง ดังนี้

- เอกภาพ

- สมดุล

- จุดเด่นและการเน้น

- ความกลมกลืน

- จังหวะ

เอกภาพ หมายถึง การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายไปคนละทิศทางทำให้ขาดประสานสัมพันธ์กัน งานทัศนศิลป์ที่ขาดเอกภาพจะทำให้ขากการจูงใจในการคิด ขาดความสนใจ ขาดจุดเด่น เกิดความสับสนในความหมาย งานทัศนศิลป์ควนนำเสนอเรื่องราว แนวความคิด จุดสนใจเพียงหนึ่งเดียว โดยมีส่วนประกอบอื่นมาช่วยสนับสนุนให้จุดเด่นที่ต้องการน่าสนใจขึ้นมา ดังนั้นในงานทัศนศิลป์ผู้สร้างงานต้องอาศัยจุดมุ่งหมายไว้ให้แน่นอนว่าจะเสนอเนื้อหาในแนวใด

เทคนิค Collograph
ผลงานอาจารย์ชะลูด นิ่มเสมอ
 
- สมดุล หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ให้มีความเหมาะสมไม่เอียงเอนไปข้างใดข้างหนึ่งของภาพ สมดุลมี 2 แบบ คือ

สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน เป็นลักษณะการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ที่ยึดถือความเหมือนกันทุกประการทั้ง 2 ข้าง เช่น ความสมดุลของร่างกายมนุษย์ เป็นต้น
 
การจัดภาพแบบ สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน
ผลงาน ชุด “ธรรมปรัญา : เทวานุภาพ”
โดย สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์
 
สมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน เป็นสมดุลทางความรู้สึกในการมองเห็น โดยที่วัตถุหรือเนื้อหาในภาพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
 

การจัดภาพแบบ สมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน
ที่มาของภาพ

- จุดเด่นและการเน้น หมายถึง ส่วนสำคัญที่สุดของภาพที่ต้องการแสดง ซึ่งนำไปสู่การบอกเล่าเนื้อหาทั้งหมดของภาพหรือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มอง ในทางทัศนศิลป์จุดสนใจควรมีจุดเดียว ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่แสดงความสำคัญหรือมีสีสันสดใสที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเน้นให้เกิดจุดเด่นด้วยการสร้างความแตกต่างขึ้นในภาพ จุดเด่นไม่จำเป็นต้องอยู่กลางภาพเสมอไป อาจจะอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพก็ได้


จุดเด่นและการเน้น
ที่มาของภาพ

- ความกลมกลืน เป็นสิ่งสำคัญสุดท้ายของการจัดองค์ประกอบศิลป์ ซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะความกลมกลืนจะทำให้ภาพงดงาม และนำไปสู่เนื้อหาเรื่องราวที่นำมาเสนอ ความกลมกลืนมี 2 แบบ คือ

-ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน
-ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง



ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน
ที่มาของภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น